Hedging ทางเลือกแทน stop loss
ข้อดีอันหนึ่งของการเทรดฟอเรกและน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้ฟอเรกเป็นที่นิยมในการเทรดคือ เรื่อง hedging ที่ยอมให้เทดเดอร์เปิดออเดอร์สวนทางกันออเดอร์ก่อนนี้ที่เปิดแล้วแต่ติดลบคนละทางได้ เป็นการรักษาการติดลบหรือแช่งแข็งการติดลบชุดนั้นๆ ไว้ได้ และสามารถทำมากเท่าไหร่ก็ได้เท่าที่ทุนและ margin เพียงพอ
เช่นถ้าวันนี้เทรดแล้วชาร์ตไม่เข้าข้างท่าน อาจเป็นเพราะข่าวเลยทำให้ขาใหญ่ใช้ประโยชน์ด้วยทุนที่หนาเลยปั่นราคาทำให้เกิดสวิงราคาเป็นวันๆ ไปก่อน ทำให้ท่านที่เปิดออดเดอร์ด้วยความเป็นไปได้สูงเกิดลบทันที แม้ว่าการเทรด การตั้ง stop loss เป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่ต้องทำในแต่ละออเดอร์ที่ท่านเปิด ที่ถูกสอนกันมา แต่เมื่อความรู้พวกนี้เป็นเครื่องมือของขาใหญ่แล้ว กลับกลายเป็นว่าการตั้ง stop loss กลับกินทุนท่านไปเรื่อยๆทีละน้อย เพราะบ่อยครั้งที่ราคาวิ่งไปแตะ stop loss ท่านแล้วก็วิ่งไปทางที่ท่านเทรดอย่างไกล ถ้าตามความรู้ทั่วไปเมื่อเปิดออเดอร์ควรกำหนด stop loss และ take profit ทันทีกลับกลายเป็นปัญหาในการบริหารพอร์ตล่ะ
การเทรดไปด้วยความรู้เรื่องการเฮดไปพร้อมๆ กับการเทรด price levels ต่างๆ กลับมีประโยชน์มากกว่าแทนที่จะตั้ง stop loss ทุกครั้งที่ออเดอร์เปิด แต่เป็นการตั้ง buy stop หรือ sell stop ตรงที่ๆ จะตั้ง stop loss หรือห่างกว่านั้นนิดหน่อยแทน เนื่องจากการที่เปิดออเดอร์ด้วย stop loss กลับกลายเป็นเป้าที่ขาใหญ่เล็งและใช้ประโยชน์ เช่น
ราคาอยู่ที่เลข 1 ท่านวิเคราะห์ชาร์ต ก่อนราคาลงมาราคาวิ่งไปเทส h1 supply ด้านบนเป็นครั้งที่ 2 และราคาสามารถวิ่งหรือ sideway ในกรอบ supply ได้แสดงว่าไม่มี sell orders มากถ้า sell orders มากพอ ราคาต้องลงภายในไม่กี่บาร์ เช่น ดูบาร์จากชาร์ต h1 ดูเทียบกับตอนที่ราคากลับมาหา supply ครั้งแรกแตกต่างกัน ครั้งแรกจะแค่หางบาร์แต่พื้นที่ล่าง supply ราคาก็ลง แต่ขาใหญ่ต้องการจะเข้าตลาดจากโครงสร้างนี้เพราะมี stop orders มากพอสามารถกลายเป็น market orders มาจาก limit orders พวกที่ต้องการเข้าตลาดได้ ด้วยการเข้าไปเปิดบายที่ demand ตอนส่วนท้ายแล้วราคาก็วิ่งขึ้นหา supply อย่างรวดเร็ว พอราคามาถึง supply เป็นครั้งที่สอง ราคามาด้วย 2 บาร์แรงแต่หลังจากนั้นหยุด sidewady นั่นเป็นเพราะขาใหญ่ปิดทำกำไรและเทสว่า มีเทรดเดอร์อื่นๆ อยากเปิด sell ตรงนี้หรือเปล่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือมี และเพราะขาใหญ่เห็นว่าพวกที่เปิด buy positions ในกรอบ demand ด้านล่าง ถ้าความรู้ทั่วไปก็จะต้องตั้ง stop loss แถวพื้นที่จุด A เลยดันราคาลงมาเพื่อแตะ พื้นที่นี้ก็จะมี market sell orders เกิดทันทีพวกเขาก็จะได้เข้าตลาดได้ตำแหน่งที่จำนวนออเดอร์ฝั่งตรงข้ามมากพอ พอเข้าตรงนี้แล้วก่อนลงพวกเขาก็ได้เทส supply นั้นแล้วราคาสามารถ sideway ที่พื้นที่ได้ แสดงว่าไม่เป็นที่สนใจของเทรดเดรอมากหรือ supply ไม่แข็งพอที่จะหยุดราคาถ้าพวกเขาดันราคากลับไปอีก
จุดเลข 1 คือที่เราวิเคราะห์พยายามแกะรอยขาใหญ่แล้วเทรดตาม เนื่องจากเราเป็นรายย่อยทุนเทรดในการเข้าไม่มากแบบขาใหญ่เราเลยต้องการเห็นข้อมูลอะไรสักหน่อยว่าขาใหญ่เปิดตรงนี้หรือเปล่า พอเห็นแท่งเทียนยาวๆ แทงลงไปล่างแล้วรีบกลับมา แสดงว่าขาใหญ่เปิดเทรด เราก็เปิดออเดอร์หลังแท่งเทียนนี้เมื่อราคาเกินราคาปิดแท่งเทียนหางยาวๆ และstop loss ก็แถวกรอบล่างสีแดง ทีพีอาจแบบขาใหญ่เพราะมองว่าราคาน่าจะเกิน supply เลยตั้งทีพืเกินขึ้นไป พอเปิดราคาก็ตามที่คาดการณ์เพราะเรามองออกว่าขาใหญ่เทรดอย่างไร วิ่งทันที 40 บีบ แต่ดันไม่ไปถึงทีพีและก็ลงอย่างรวดเร็วไปแตะ stop loss แต่ถ้าเรามองต่างกันออกไปเช่น ข้อ 1. เรามั่นใจว่าอย่างไรขาใหญ่ต้องรักษาจุดที่ตัวเองเทรด ถ้าออเดอร์จุดที่พวกเขาเข้าไม่มากพอละพวกเขาจะทำอย่างไร และ ข้อ 2 มองจากชาร์ต D1 ขาใหญ่เห็น stop orders พื้นที่กรอบสีชมพู อาจดันราคาลงไปอีกรอบล่า stops ตรงนี้ก่อน แถมได้ราที่ดีกว่าเดิมอีก buy low และจำนวน positions สะสมที่พื้นที่อ้างอิงใน timeframe ใหญ่ขึ้น (จุดอ้างอิงยิ่งพบใน timeframe ใหญ่ เช่น D1/W1 เทรดเดอร์ยิ่งสนใจเยอะ)
แต่ต้องไม่ลืมว่าการเทรดเป็นเรื่องความเป็นไปได้และเปลี่ยนแปลงตลอด เราก็มาดูว่าเราทำอะไรได้บ้างในการบริหารออเดอร์ที่เราเปิด ในการจำกัดความเสี่ยง เราตั้ง stop loss เพื่อปิดออเดอร์นั้นๆ เลย หรือเราสามารถเปิด sell/buy stop เพื่อเฮดหรือรักษาการติดลบที่เท่านั้นก่อนได้แล้วค่อยแก้ทีหลัง ถ้าเราเลือก ข้อ 1 ก็จบไปถ้าราคาไม่ถึงทีพีและวิ่งลงเกิน stop loss แต่ถ้าเลือทาง ข้อ 2 เพราะผลจากการอ่านชาร์ตแบบที่อธิบายมา ถ้าราคาเกิดกรอบ stop loss ก็ให้เปิด sell ด้วย lot เท่ากันกับที่เปิดบาย ที่คือการ hedging ราคาน่าจะลงมาที่กรอบ D1 demand เพราะ stop orders ที่บอกราคาก็ลงมาจริง ออเดอร์ที่เปิด buy ตอนแรกก็ติดลบ 50 บีบ และ ออเดอร์ที่เปิด sell เพื่อ hedging ก็กำไร 30 บีบ บวกลบ เราก็ติดลบแค่ 20 บีบพอๆ กับที่ตั้ง stop loss – สุดท้ายราคาเปิดผยการเข้าเทรดอีก ตรงพื้นที่เลข 2 ตรง demand พอดี ราคาแตะ stop loss และถ้าเป็นเทรดเดอร์ที่เปิด sell หลังราคาลงแรงๆ และเปิดใส่ demand ก็มีแต่พวกรายย่อย ขาใหญ่ได้ทุกอย่างตามที่คาดการณ์ทั้งหมด ก็เข้าเปิด buy อีกรอบ เราก็ได้เวลาปิด sell position ที่เปิดเฮดตัวติดลบ แม้ว่า ตัวติดลบเยอะ แต่เราปิดกำไรตัวบวกไปแล้ว อีคิวเท่าเดิม ถ้าราคาวิ่งกลับไปด้วยอีคิวก็จะสูงขึ้น และขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้ท่านเปิด buy เพิ่มอีกที่เลข 2 ตามขาใหญ่อีกรอบ สุดท้ายราคาก็วิ่งผ่านจุดเดิมที่ขึ้นตอนเปิดออเดอร์แรก และผ่าน supply อย่างรวดเร็วเพราะขาใหญ่ปั่นราคาเพื่อเข้าตลาด เราก็ได้ตามไปด้วย ราคามาถึง 1.14 ออเดอร์ทั้ง 2 ก็บวกหมด ถ้าไม่ต้องการถือรอก็ยังมีกำไรพอที่จะปิดทั้ง 2 ออเดอร์ได้
Hedging เมื่อมองจากตัวอย่างด้านบน เป็นทางเลือกที่ดีกว่า stop loss เพราะเมื่อเทรดบ่อยๆ ท่านจะพบกว่า stop loss คือพื้นที่เป้าหมายที่ขาใหญ่เพ่งเล็งจะให้ทำงาน เพราะมันเป็น stop orders ที่เกิดขึ้นเพราะเงื่อนไขราคาที่ตั้งไว้กับราคาตลาดวิ่งไปแตะออเดอร์ พวกนี้ขาใหญ่สามารถใช้ประกอบกับกลยุทธ์การเทรดของพวกเขาเพื่อหาจุดเข้าตลาดและปิดทำกำไร เพราะเป็นจุดที่พวกเขามั่นใจได้ว่ามีออเดอร์ตรงข้ามมากพอและต้องเกิดด้วย ซึ่งต่างจาก market orders ที่มาจากการเปิดเทรดมือ ที่ต้องรอให้เทรดเดอร์กดเทรดเพื่อเข้าตลาด
ตัวอย่างด้านล่างก็เป็นแบบเดียวกัน
แต่การใช้ hedging จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อท่านอ่านชาร์ตเป็น สามารถอ่านได้ว่าขาใหญ่เทรดอย่างไรและกำลังทำอะไรกับพื้นที่ที่พวกเขาสนใจแล้วท่านก็เทรดตาม
ทีมงาน www. .com