ระบบเทรด Fractal System

ระบบเทรด Fractal System

วันนี้เป็นบทความสุดท้ายเกี่ยวกับระบบเทรด forex แล้วครับ ระบบเทรดสุดท้ายที่ผมจะนำเสนอ เป็นระบบที่แปลกและไม่ค่อยมีคนใช้เท่าไหร่ แต่ก็เป็นระบบเทรดที่ได้ผลดีพอสมควร ซึ่งระบบมีความง่าย และอ่านสัญญาณในการเทรดได้อย่างง่ายได้ ระบบการเทรด ที่นำเสนอ คือ Fractal System หลายท่านอาจจะได้เคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า Fractal เป็นระบบเทรดที่ดีได้อย่างไร คราวนี้เราอาจจะต้องมาทำความรู้จักกับ Fractal กันใหม่ เนื้อหาของบทความคือ Fractal เป็นอะไร เราใช้เงื่อนไขแบบไหนในการเทรด และจะจัดการการเทรดได้อย่างไร

Fractal คืออะไร?

ระบบ Fractal เป็นระบบที่เลียนแบบสัดส่วนในธรรมชาติ ลักษณะของ Fractal สามารถพบเห็นได้หลายแบบ เช่น ใบไม้ ก้นหอย เกล็ดหิมะ รูปแบบที่เป็นรูปทางเรขาคณิตที่สามารถหาสัดส่วนได้อย่างแน่นอน จึงเรียกว่า Fractal

รูปที่ 1 แสดงรูปแบบก้นหอย

รูปแบบก้นหอยถือเป็นรูปแบบ Fractal ประเภทหนึ่ง ซึ่งพบเห็นได้ตามธรรมชาติ อันที่จริงแล้ว รูปแบบ Fractal เกี่ยวข้องกับลำดับเลข Fibonacci อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากลำดับเลข Fibonacci มีอีกชื่อหนึ่งว่า อัตราส่วนทองคำ  คำว่าอัตราส่วนทองคำ ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นอัตราส่วนในการสร้างทองคำขึ้นมา แต่หมายความว่า ตัวเลขอัตราส่วนนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลายตัวเลข นั่นก็คือ สัดส่วนระยะกว้างของเส้นก้นหอย ที่ทยอยเพิ่มขึ้นตามแบบของลำดับเลข Fibonacci หรืออัตราส่วน ระยะห่างจากสะดือถึงเท้า และสะถือถึงศรีษะคนก็อยู่ในอัตราส่วน Fibonacci พอดี ซึ่งลำดับเหล่านี้ก็เรียกว่าเป็น Fractal ด้วยเช่นกัน

ด้วย Concept ที่ว่าเป็นสัดส่วนที่เราสามารถพบได้ในธรรมชาติ จึงทำให้คนบางคนนำมันมาใช้ในตลาด Forex ด้วย เพราะคิดว่า การเทรด หรือการซื้อขายก็น่าจะเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ เพราะว่า มนษย์ย่อมไม่สามารถหลีกหนีธรรมชาติได้อย่างแน่นอน  จึงมีการเอา Fractal มาใช้ในการเทรด Forex และพบว่ามันได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ  เราลองมาดูหน้าตาของ indicator Fractal กันเพื่อทำความรู้จักกันก่อน

รูปที่ 2 แสดง Indicator Fractal

รูปร่างของ indicator Fractal อาจจะดูแปลกตาสำหรับคนไม่เคยใช้ และเป็นลูกศร ชี้ขึ้นบนและลงล่าง โยด Concept ของ Fractal คือ การบอกจุดกลับตัวและการบอกว่าจะเกิด Break Out ซึ่งสามารถตีความได้หลายแบบ อย่างไรก็ตาม การตีความการใช้ Fractal ที่เป็นที่นิยมคือ การบออกจุดกลับตัว จุดที่เกิดจุดกลับตัวก็คือ จุดที่มีลูกศรเกิดขึ้น มากจะทำให้เรางงและสับสนได้ง่าย เพราะจำนวนลูกศรที่เกิดขึ้นมีจำนวนความถี่มากเกินไปทำให้เราไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะต้องเทรดตอนไหน ซึ่งเราจะมาเรียนรู้กันในบทความในหัวข้อต่อไปนี้

เงื่อนไขการส่งคำสั่งของ Fractal

การส่งคำสั่งของ Fractal ที่ผมจะแนะนำยังเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ยังมีการใช้ Fractal อีกหลายแบบและได้ผล สำนัก Turtle Trading ได้ใช้ Fractal เป็นจุดการเกิด Break Out เป็นต้น ขณะที่ผมใช้เพื่อบอกจุดกลับตัว จะมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

การเข้า Buy หรือ Sell จะต้องมีสัญญาณการเกิด Fractal แล้วเราค่อยส่งคำสั่ง หมายความว่า การส่งคำสั่งจะล่าช้ากว่าปกติไป 1 สัญญาณ หรือ 1 แท่ง เพราะระหว่างที่เราเข้าซื้อ หรือ ขายเมื่อสัญญาณเกิดแท่งแรก สิ่งที่สำคัญคือ ตัว Fractal เกิดเปลี่ยนท่าทีและไม่ใช่สัญญาณที่เราใช้ส่งคำสั่งอีกแล้วนั่นเอง ดังนั้นเราจึงรอมันเกิดสัญญาณ Fractal ไปแล้ว 1 แท่งเท่านั้น

ด้วยเหตุดดังกล่าว จนทำให้สัญญาณ Fractal ที่ได้และเข้าเทรดหลังจากานั้นอีก 1 แท่งนั้นเป็นสัญญาณที่ล่าช้า แต่นี่ก็เป็นจุดดีของ Fractal เพราะว่าการที่เราเข้าช้าแสดงว่าสัญญาณมีการเปลี่ยนทิศทางแล้วแน่นอน โอกาสจะโดนตลาดหลอกนั้นยิ่งมีน้อย แต่ข้อเสียของมันคือ เนื่องจากเราไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดที่ใด ทำให้การกำหนดจุดออก หรือ จุดทำกำไรทำได้ยาก จะมีการประยุกต์ใช้นิดหน่อย

สำหรับการเทรด เมื่อ Fractal เกิดด้านบนของแท่งเทียน นั่นคือ สัญญาณ Sell ครับ ขณะที่ Fractal เกิดใต้แท่งเทียน นั่นคือสัญญาณ Buy เราต้องรอให้จบแท่งแล้วถึงค่อยเข้าซื้อ หรือ ขาย และ Time Frame ที่เหมาะสมสำหรับการเทรดคือกราฟ D1 หรือหลายท่านอาจจะใช้กราฟ 4H ก็ทำได้เช่นกัน ต่อไปเราจะมาพูดถึงจุดออกของ Fractal กัน

จุดออก

สำหรับการเทรด Fractal จุดออกของการเทรด คือ การกำหนดกรอบของราคา เราต้องลากเส้นกรอบของราคา เพื่อที่จะกำหนดช่วงในการออกจากการเทรด ดังภาพต่อไปนี้

รูปที่ 3 แสดงการตีกรอบของราคา

ในภาพข้างต้นจะมีกรอบราคาสีเหลือ ซึ่งเป็นกรอบการวิ่งของเทรนด์ ดังนั้นถ้าคุณส่งคำสั่ง Buy และปรากฏว่า ราคาช่นของแท่งสีเหลืองด้านบนแล้ว นั่นก็ทำให้คุณทราบว่า เพียงพอแล้วสำหรับการตัดสินใจทำกำไร ซึ่งเป็นกฏง่าย ๆ การตีกรอบราคาก็ทำได้ง่าย แค่ใช้กรอบ Hight และ Low ของแท่งเทียน และเมื่อเราเทรดบ่อยขึ้น เราจะสามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดายมากขึ้น

ทีมงาน